ขจรเดช กังเจริญวัฒนา

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

3.ประโยชน์ของพลังงานและเเหล่งน้ำมาใช้กับการผลิตไฟฟ้า

อันมีองค์ประกอบหลักได้แก่ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุอื่น ๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนมา จึงจำเป็นจะต้องผ่านขบวนการแยกแยะเสียก่อนจากโรงงานแยกก๊าซ เมื่อได้เอาสารประกอบอื่น ๆ ออกไปก็จะเหลือก๊าซที่มีส่วนประกอบของ CH4 ซึ่งค่อนข้างเป็นเชื้อเพลิงที่บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากมีโมเลกุลของคาร์บอนน้อย ตัวเชื้อเพลิงจึงมีลักษณะเป็นก๊าซ และไม่สามารถทำให้เป็นของเหลวได้ในอุณหภูมิบรรยากาศ ไม่ว่าจะอัดแรงดันเข้าไปสักเท่าใด ก็ไม่สามารถแปรสภาพเป็นของเหลวได้ เว้นแต่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก การเก็บรักษาในภาชนะจึงมีความซับซ้อน และต้องป้องกันความร้อนมิให้เข้าไปกระทบกับถังเก็บภายใน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการบำรุงรักษาเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องปล่อยไอระเหยของเชื้อเพลิงออกไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้รักษาระดับความเย็นไว้ ดังนี้ เมื่อไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงจากการพักการใช้งานของยานยนต์ ก็จำเป็นต้องระบายไอระเหยออกทิ้งเป็นครั้งคราว จึงเป็นการสูญเสียพลังงาน อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะในบรรยากาศได้ ถังเก็บก๊าซในยานยนต์จึงเป็นเพียงถังแรงดันสูงเท่านั้น การที่จะให้มีเชื้อเพลิงพอเพียงต่อการใช้งาน ก๊าซธรรมชาติจึงต้องถูกอัดไว้ที่แรงดันสูงเท่าที่จะสูงได้ สำหรับมาตรฐานสำหรับยานยนต์ก็จะอยู่ที่ 3600 PSI หรือประมาณ 245 เท่าของบรรยากาศ ภาชนะจึงต้องมีความแข็งแรงมาก ถ้าเป็นถังเหล็กก็จะมีน้ำหนักมากพอสมควร เช่น ถังบรรจุก๊าซที่เทียบพลังงานเท่ากับเชื้อเพลิงเบนซินขนาด 18 ลิตร จะมีน้ำหนักถึง 70 กิโลกรัม ก็เกือบ ๆ ข้าวสารหนึ่งกระสอบนั่นแหละ ถ้าท่านยังไม่คุ้นเคยก็ทดลองเอาข้าวสารหนึ่งกระสอบใส่ท้ายรถแล้วลองขับดู จะรู้สึกทันที สำหรับภาชนะอื่นที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ เรียกทับศัพท์ว่าถังคอมโพซิส พวกนี้จะเบากว่ามาก นอกจากนี้ยังทำท่านตัวเบาไปด้วย เพราะเป็นถังที่มีราคาสูง อีกทั้งอายุการใช้งานสั้นกว่า นอกจากนี้การเติมแต่ละครั้ง ก็มีส่วนทำให้อายุการใช้งานลดลง เพราะความเครียดที่เกิดขึ้นจากการอัดก๊าซ และถูกปลดปล่อยออกจากการใช้เชื้อเพลิงไป ถ้าตรงนี้เข้าใจยากก็ให้นึกถึงการดัดลวดไปมาหลาย ๆ ครั้งเข้า ลวดก็ขาดได้ ถังคอมโพซิสก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน

2.การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย

แร่ (Mineral)
แร่ (Mineral) หมายถึงสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป มีการตกผลึกที่แน่นนอน เช่น คัลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เรียกว่าแร่ แอนไฮไดรท์ บางชนิดประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ในสภาวะที่เหมาะสมแร่จะเกิดการตกผลึก (Crystal) มีรูปร่างแน่นอนตามชนิดของแร่ เช่น ผลึก 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลึก. ระยะเวลาในการเย็นตัว ช่องว่างที่จะเกิดผลึก ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาณของสารละลาย
** นักเรียนสามารถทำการศึกษาการตกผลึกได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
ชนิดของแร่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. แร่ปฐมภูมิ (Primary Minerals) เป็นแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดจะได้ผลึกและโครงสร้างที่แน่นอน
2. แร่ทุติยภูมิ (Secondary Minerals) เกิดจากตะกอนหรือตกตะกอนทับถมของแร่ หรือหินที่ผุพังทางเคมี ทางฟิสิกส์ หรือชีวภาพ
** ศึกษาภาพและรายละเอียดได้จากหนังสือ โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
สมบัติของแร่
1. สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties) เป็นสมบัติที่ตรวจสอบได้ง่ายราคาถูก เช่น การดูด้วยสายตา การจับ การใช้คุณสมบัตินี้ในการแยกแร่ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1901 โดยศาตราจารย์อัลบิน ไวสแบค ( Albin Weisback) นักวิยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งแบ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.ประโยชน์ของทรัพยากรประมงในท้องถิ่น

มุมมองจากอาจารย์มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 4.1 สาธารณรัฐประชาชนจีนถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลกและรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และปกป้องการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม โดยรัฐบาลให้คำจำกัดความทรัพยากรธรรมชาติว่าเป็น Whole - people owned หรืออีกนัยหนึ่ง State – ownership 4.2 ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมาย ABS โดยตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งจะไม่สามารถสร้างความมังคั่งให้กับประเทศได้หากต้องปล่อยทิ้งไว้กับธรรมชาติโดยไม่ใช้ประโยชน์ ดังนั้น กฎหมาย ABS ในอนาคตจะพยายามสร้างสมดุลย์ระหว่าง Conservation และ Utilization5. นโยบายและกฎหมาย ABS ของอินโดนีเซีย 5.1 อินโดนีเซียมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยกรธรรมชาติหลายฉบับ เช่น ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ การกักกันพืช สัตว์ ประมง ตลอดจนการคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ยังไม่เกี่ยวกับ ABS โดยตรง ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการปรับปรุง Law No.5 1994 on CBD Ratification 5.2 ปัจจุบันการเก็บตัวอย่าง Plant Genetic Ratification จะต้องขออนุญาตหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐ โดย PGR ที่ได้จะต้องแยกให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของอินโดนีเซียเก็บรักษาไว้ครึ่งหนึ่งที่ธนาคารพันธุกรรม6. นโยบายและกฎระเบียบ ABS ของไทย 6.1 หน่วยงานรับผิดชอบของไทยประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ และสภาวิจัยแห่งชาติ โดยมีสำนักความหลากหลายทางชีวภาพทำหน้าที่เป็น CBD National Focal Point 6.2 ปัจจุบัน ได้มีการยกร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงและได้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ทรัพยากรชีวภาพซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา7. งานด้านทรัพยากรพันธุกรรมของรัฐซาราวัค มาเลเซีย 7.1 สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพรัฐซาราวัค ตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสร้างระบบเชื่อมโยงการดำเนินงานที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นและสถาบันต่างประเทศ 7.2 การดำเนินงานของสถาบันอยู่ภายใต้กฤษฎีกา Surawak Biodiversity Centre พ.ศ. 2520 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2546 โดยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตาม (1) Material Transfer Agreement (2) Memorandum of Agreement และ (3) การขออนุญาตเพื่อการวิจัย8. นโยบายและหลักเกณฑ์ทางชีวภาพของฟิลิปปินส์ 8.1 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ พ.ศ. 2544 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้บังคับการเก็บรวบรวมและการเข้าถึงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านงานวิจัย และการศึกษาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการค้า 8.2 สำหรับการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของทรัพยากรรัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดให้จ่ายค่า Royalties ขั้นต่ำร้อยละ 2 จากยอดขายต่อปี โดยแบ่งให้ภาครัฐบาลร้อยละ 25 และผู้ครอบครองผลประโยชน์ในท้องถิ่นร้อยละ 7ข้อสังเกตปัจจุบันเพื่อนบ้านของไทยมีความก้าวหน้าในด้านความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้าง มากเมื่อเปรียบเทียบกับไทย ทั้งนี้ ในระหว่างการสัมมนาผู้แทนมาเลเซียได้เชื้อเชิญให้บริษัทต่างชาติเข้าไปศึกษาและเก็บตัวอย่าง พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และดำเนินงานวิจัยร่วมกันโดยพร้อมให้การอำนวยความสะดวกในด้านการขออนุญาต เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการนำความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ รวมทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้เจ้าของทรัพยากรในท้องถิ่นและรักษาภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้ โดยต่างจากประเทศไทยซึ่งผู้บรรยาย (ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร) ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาซึ่งนักวิชาการไม่ทราบนโยบายและทิศทางที่ชัดเจนจากภาครัฐและมีผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมและชีววิทยา รวมทั้งงานวิจัยด้านการตัดแต่งทางพันธุกรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขและสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพของไทยก้าวทันประเทศอื่นๆในเอเซียต่อไป