ขจรเดช กังเจริญวัฒนา

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552


วิธีการปลูกผักสวนครัว

วิธีการปลูกผักสวนครัว

1. การปลูกผักในแปลงปลูก
มีขั้นตอน คือ
1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
1.3 การปรับปรุงเนื้อดิน เนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
1.4 การกำหนดหลุมปลูก จะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิดผักต่าง ๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่แตกต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75 x 100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5 x 5 เซนติเมตร เป็นต้น
2. การปลูกผักในภาชนะ
การปลูกผักในภาชนะควรจะพิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ
ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

สรุป
วิธีการปลูกผักสวนครัวสามารถปลูกง่ายและสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องใช้เงินและสามารถเลี้ยงตัวเองได้

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต
การใช้อินเตอร์เน็ต
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีความสำคัญมากทั้งในการการศึกษา และทางด้านการพาณิชย์ การตลาด การส่งออก การขนส่ง ที่มีประโยชน์ในทางการค้าต่าง ๆ มีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกันในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งในทางด้านธุรกิจ กิจการที่สำคัญต่าง ๆส่วนประโยชน์ในด้านการศึกษา ทั้งความสะดวกติดต่อประสานงานด้านการทำงาน การเรียนรู้ในระบบต่าง ๆในห้องเรียน และทั้งนอกห้องเรียน ทำให้อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญทำให้การศึกษาเปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างยิ่งขึ้น เป็นต้น

เทคโนโลยี่สารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

นาโนเทคโนโลยี่

นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได
ประวัติ
ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s planty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) โดยการแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการในระดับอะตอม

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

3.ประโยชน์ของพลังงานและเเหล่งน้ำมาใช้กับการผลิตไฟฟ้า

อันมีองค์ประกอบหลักได้แก่ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุอื่น ๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนมา จึงจำเป็นจะต้องผ่านขบวนการแยกแยะเสียก่อนจากโรงงานแยกก๊าซ เมื่อได้เอาสารประกอบอื่น ๆ ออกไปก็จะเหลือก๊าซที่มีส่วนประกอบของ CH4 ซึ่งค่อนข้างเป็นเชื้อเพลิงที่บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากมีโมเลกุลของคาร์บอนน้อย ตัวเชื้อเพลิงจึงมีลักษณะเป็นก๊าซ และไม่สามารถทำให้เป็นของเหลวได้ในอุณหภูมิบรรยากาศ ไม่ว่าจะอัดแรงดันเข้าไปสักเท่าใด ก็ไม่สามารถแปรสภาพเป็นของเหลวได้ เว้นแต่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก การเก็บรักษาในภาชนะจึงมีความซับซ้อน และต้องป้องกันความร้อนมิให้เข้าไปกระทบกับถังเก็บภายใน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการบำรุงรักษาเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องปล่อยไอระเหยของเชื้อเพลิงออกไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้รักษาระดับความเย็นไว้ ดังนี้ เมื่อไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงจากการพักการใช้งานของยานยนต์ ก็จำเป็นต้องระบายไอระเหยออกทิ้งเป็นครั้งคราว จึงเป็นการสูญเสียพลังงาน อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะในบรรยากาศได้ ถังเก็บก๊าซในยานยนต์จึงเป็นเพียงถังแรงดันสูงเท่านั้น การที่จะให้มีเชื้อเพลิงพอเพียงต่อการใช้งาน ก๊าซธรรมชาติจึงต้องถูกอัดไว้ที่แรงดันสูงเท่าที่จะสูงได้ สำหรับมาตรฐานสำหรับยานยนต์ก็จะอยู่ที่ 3600 PSI หรือประมาณ 245 เท่าของบรรยากาศ ภาชนะจึงต้องมีความแข็งแรงมาก ถ้าเป็นถังเหล็กก็จะมีน้ำหนักมากพอสมควร เช่น ถังบรรจุก๊าซที่เทียบพลังงานเท่ากับเชื้อเพลิงเบนซินขนาด 18 ลิตร จะมีน้ำหนักถึง 70 กิโลกรัม ก็เกือบ ๆ ข้าวสารหนึ่งกระสอบนั่นแหละ ถ้าท่านยังไม่คุ้นเคยก็ทดลองเอาข้าวสารหนึ่งกระสอบใส่ท้ายรถแล้วลองขับดู จะรู้สึกทันที สำหรับภาชนะอื่นที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ เรียกทับศัพท์ว่าถังคอมโพซิส พวกนี้จะเบากว่ามาก นอกจากนี้ยังทำท่านตัวเบาไปด้วย เพราะเป็นถังที่มีราคาสูง อีกทั้งอายุการใช้งานสั้นกว่า นอกจากนี้การเติมแต่ละครั้ง ก็มีส่วนทำให้อายุการใช้งานลดลง เพราะความเครียดที่เกิดขึ้นจากการอัดก๊าซ และถูกปลดปล่อยออกจากการใช้เชื้อเพลิงไป ถ้าตรงนี้เข้าใจยากก็ให้นึกถึงการดัดลวดไปมาหลาย ๆ ครั้งเข้า ลวดก็ขาดได้ ถังคอมโพซิสก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน

2.การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย

แร่ (Mineral)
แร่ (Mineral) หมายถึงสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป มีการตกผลึกที่แน่นนอน เช่น คัลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เรียกว่าแร่ แอนไฮไดรท์ บางชนิดประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ในสภาวะที่เหมาะสมแร่จะเกิดการตกผลึก (Crystal) มีรูปร่างแน่นอนตามชนิดของแร่ เช่น ผลึก 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลึก. ระยะเวลาในการเย็นตัว ช่องว่างที่จะเกิดผลึก ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาณของสารละลาย
** นักเรียนสามารถทำการศึกษาการตกผลึกได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
ชนิดของแร่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. แร่ปฐมภูมิ (Primary Minerals) เป็นแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดจะได้ผลึกและโครงสร้างที่แน่นอน
2. แร่ทุติยภูมิ (Secondary Minerals) เกิดจากตะกอนหรือตกตะกอนทับถมของแร่ หรือหินที่ผุพังทางเคมี ทางฟิสิกส์ หรือชีวภาพ
** ศึกษาภาพและรายละเอียดได้จากหนังสือ โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
สมบัติของแร่
1. สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties) เป็นสมบัติที่ตรวจสอบได้ง่ายราคาถูก เช่น การดูด้วยสายตา การจับ การใช้คุณสมบัตินี้ในการแยกแร่ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1901 โดยศาตราจารย์อัลบิน ไวสแบค ( Albin Weisback) นักวิยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งแบ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.ประโยชน์ของทรัพยากรประมงในท้องถิ่น

มุมมองจากอาจารย์มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 4.1 สาธารณรัฐประชาชนจีนถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลกและรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และปกป้องการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม โดยรัฐบาลให้คำจำกัดความทรัพยากรธรรมชาติว่าเป็น Whole - people owned หรืออีกนัยหนึ่ง State – ownership 4.2 ปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมาย ABS โดยตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งจะไม่สามารถสร้างความมังคั่งให้กับประเทศได้หากต้องปล่อยทิ้งไว้กับธรรมชาติโดยไม่ใช้ประโยชน์ ดังนั้น กฎหมาย ABS ในอนาคตจะพยายามสร้างสมดุลย์ระหว่าง Conservation และ Utilization5. นโยบายและกฎหมาย ABS ของอินโดนีเซีย 5.1 อินโดนีเซียมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยกรธรรมชาติหลายฉบับ เช่น ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ การกักกันพืช สัตว์ ประมง ตลอดจนการคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ยังไม่เกี่ยวกับ ABS โดยตรง ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการปรับปรุง Law No.5 1994 on CBD Ratification 5.2 ปัจจุบันการเก็บตัวอย่าง Plant Genetic Ratification จะต้องขออนุญาตหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐ โดย PGR ที่ได้จะต้องแยกให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของอินโดนีเซียเก็บรักษาไว้ครึ่งหนึ่งที่ธนาคารพันธุกรรม6. นโยบายและกฎระเบียบ ABS ของไทย 6.1 หน่วยงานรับผิดชอบของไทยประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์ และสภาวิจัยแห่งชาติ โดยมีสำนักความหลากหลายทางชีวภาพทำหน้าที่เป็น CBD National Focal Point 6.2 ปัจจุบัน ได้มีการยกร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงและได้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ทรัพยากรชีวภาพซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา7. งานด้านทรัพยากรพันธุกรรมของรัฐซาราวัค มาเลเซีย 7.1 สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพรัฐซาราวัค ตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสร้างระบบเชื่อมโยงการดำเนินงานที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นและสถาบันต่างประเทศ 7.2 การดำเนินงานของสถาบันอยู่ภายใต้กฤษฎีกา Surawak Biodiversity Centre พ.ศ. 2520 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2546 โดยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตาม (1) Material Transfer Agreement (2) Memorandum of Agreement และ (3) การขออนุญาตเพื่อการวิจัย8. นโยบายและหลักเกณฑ์ทางชีวภาพของฟิลิปปินส์ 8.1 ฟิลิปปินส์ออกกฎหมายการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ พ.ศ. 2544 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้บังคับการเก็บรวบรวมและการเข้าถึงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านงานวิจัย และการศึกษาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการค้า 8.2 สำหรับการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของทรัพยากรรัฐบาลฟิลิปปินส์กำหนดให้จ่ายค่า Royalties ขั้นต่ำร้อยละ 2 จากยอดขายต่อปี โดยแบ่งให้ภาครัฐบาลร้อยละ 25 และผู้ครอบครองผลประโยชน์ในท้องถิ่นร้อยละ 7ข้อสังเกตปัจจุบันเพื่อนบ้านของไทยมีความก้าวหน้าในด้านความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้าง มากเมื่อเปรียบเทียบกับไทย ทั้งนี้ ในระหว่างการสัมมนาผู้แทนมาเลเซียได้เชื้อเชิญให้บริษัทต่างชาติเข้าไปศึกษาและเก็บตัวอย่าง พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และดำเนินงานวิจัยร่วมกันโดยพร้อมให้การอำนวยความสะดวกในด้านการขออนุญาต เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการนำความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ รวมทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้เจ้าของทรัพยากรในท้องถิ่นและรักษาภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้ โดยต่างจากประเทศไทยซึ่งผู้บรรยาย (ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร) ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาซึ่งนักวิชาการไม่ทราบนโยบายและทิศทางที่ชัดเจนจากภาครัฐและมีผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมและชีววิทยา รวมทั้งงานวิจัยด้านการตัดแต่งทางพันธุกรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขและสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพของไทยก้าวทันประเทศอื่นๆในเอเซียต่อไป