ขจรเดช กังเจริญวัฒนา

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

2.การประมงน้ำจืดและน้ำเค็มในประเทศไทย

แร่ (Mineral)
แร่ (Mineral) หมายถึงสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีที่แน่นอน ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป มีการตกผลึกที่แน่นนอน เช่น คัลเซียมซัลเฟต (CaSO4) เรียกว่าแร่ แอนไฮไดรท์ บางชนิดประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว เช่น เพชร ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ในสภาวะที่เหมาะสมแร่จะเกิดการตกผลึก (Crystal) มีรูปร่างแน่นอนตามชนิดของแร่ เช่น ผลึก 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลึก. ระยะเวลาในการเย็นตัว ช่องว่างที่จะเกิดผลึก ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาณของสารละลาย
** นักเรียนสามารถทำการศึกษาการตกผลึกได้ด้วยตัวเอง โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
ชนิดของแร่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. แร่ปฐมภูมิ (Primary Minerals) เป็นแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดจะได้ผลึกและโครงสร้างที่แน่นอน
2. แร่ทุติยภูมิ (Secondary Minerals) เกิดจากตะกอนหรือตกตะกอนทับถมของแร่ หรือหินที่ผุพังทางเคมี ทางฟิสิกส์ หรือชีวภาพ
** ศึกษาภาพและรายละเอียดได้จากหนังสือ โดยติดต่อครูที่ห้องทดลองได้ตลอดเวลา
สมบัติของแร่
1. สมบัติทางกายภาพ (Physical Properties) เป็นสมบัติที่ตรวจสอบได้ง่ายราคาถูก เช่น การดูด้วยสายตา การจับ การใช้คุณสมบัตินี้ในการแยกแร่ต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1901 โดยศาตราจารย์อัลบิน ไวสแบค ( Albin Weisback) นักวิยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งแบ่งคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น