ขจรเดช กังเจริญวัฒนา

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

3.ประโยชน์ของพลังงานและเเหล่งน้ำมาใช้กับการผลิตไฟฟ้า

อันมีองค์ประกอบหลักได้แก่ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) โดยอาจมีธาตุอื่น ๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ปนมา จึงจำเป็นจะต้องผ่านขบวนการแยกแยะเสียก่อนจากโรงงานแยกก๊าซ เมื่อได้เอาสารประกอบอื่น ๆ ออกไปก็จะเหลือก๊าซที่มีส่วนประกอบของ CH4 ซึ่งค่อนข้างเป็นเชื้อเพลิงที่บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากมีโมเลกุลของคาร์บอนน้อย ตัวเชื้อเพลิงจึงมีลักษณะเป็นก๊าซ และไม่สามารถทำให้เป็นของเหลวได้ในอุณหภูมิบรรยากาศ ไม่ว่าจะอัดแรงดันเข้าไปสักเท่าใด ก็ไม่สามารถแปรสภาพเป็นของเหลวได้ เว้นแต่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก การเก็บรักษาในภาชนะจึงมีความซับซ้อน และต้องป้องกันความร้อนมิให้เข้าไปกระทบกับถังเก็บภายใน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการบำรุงรักษาเป็นพิเศษ อีกทั้งต้องปล่อยไอระเหยของเชื้อเพลิงออกไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้รักษาระดับความเย็นไว้ ดังนี้ เมื่อไม่ได้ใช้เชื้อเพลิงจากการพักการใช้งานของยานยนต์ ก็จำเป็นต้องระบายไอระเหยออกทิ้งเป็นครั้งคราว จึงเป็นการสูญเสียพลังงาน อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะในบรรยากาศได้ ถังเก็บก๊าซในยานยนต์จึงเป็นเพียงถังแรงดันสูงเท่านั้น การที่จะให้มีเชื้อเพลิงพอเพียงต่อการใช้งาน ก๊าซธรรมชาติจึงต้องถูกอัดไว้ที่แรงดันสูงเท่าที่จะสูงได้ สำหรับมาตรฐานสำหรับยานยนต์ก็จะอยู่ที่ 3600 PSI หรือประมาณ 245 เท่าของบรรยากาศ ภาชนะจึงต้องมีความแข็งแรงมาก ถ้าเป็นถังเหล็กก็จะมีน้ำหนักมากพอสมควร เช่น ถังบรรจุก๊าซที่เทียบพลังงานเท่ากับเชื้อเพลิงเบนซินขนาด 18 ลิตร จะมีน้ำหนักถึง 70 กิโลกรัม ก็เกือบ ๆ ข้าวสารหนึ่งกระสอบนั่นแหละ ถ้าท่านยังไม่คุ้นเคยก็ทดลองเอาข้าวสารหนึ่งกระสอบใส่ท้ายรถแล้วลองขับดู จะรู้สึกทันที สำหรับภาชนะอื่นที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ เรียกทับศัพท์ว่าถังคอมโพซิส พวกนี้จะเบากว่ามาก นอกจากนี้ยังทำท่านตัวเบาไปด้วย เพราะเป็นถังที่มีราคาสูง อีกทั้งอายุการใช้งานสั้นกว่า นอกจากนี้การเติมแต่ละครั้ง ก็มีส่วนทำให้อายุการใช้งานลดลง เพราะความเครียดที่เกิดขึ้นจากการอัดก๊าซ และถูกปลดปล่อยออกจากการใช้เชื้อเพลิงไป ถ้าตรงนี้เข้าใจยากก็ให้นึกถึงการดัดลวดไปมาหลาย ๆ ครั้งเข้า ลวดก็ขาดได้ ถังคอมโพซิสก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น